Thursday, February 15, 2007

ตำนาน นาข้าว หอมกรุ่น






บทกวีกับตำนานที่บ้านฉัน

นึกถึงวันเคยวิ่งไล่ในทุ่งกว้าง

เรียวรวงข้าวอุ่นระวีคลี่ใบบาง

รายริมทางดอกหญ้ากลีบพร่าพราย

ใยแมงมุมหนาวน้ำฟ้ามาเกาะติด

คือชีวิตและสีสันที่พลันหาย

ทุ่งดอกงิ้วริ้วดอกโดนโคลนปลักควาย

ยังหวนไห้ยามคิดถึงซึ่งวันวาน

เสียงกรุ่งกริ่งที่คอควายมิวายคิด

ตามเตือนติดด้วยกวีที่ไหวหวาน

กลิ่นกรุ่นฟางลอยลิ่วพลิ้วดงตาล

อลหม่านเมื่อหน้าเกี่ยวเรียวรวง

ทองในยามดึกนั่งดูจันทร์วันคืนแรม

หอมกลิ่นแก้มนงรามตามสนอง

ฟืนเดียวดายพลีหัวใจให้ไฟครอง

ตามครรลองงามง่ายที่ปลายนา

คือท้องนาฉาบสีรุ้งกลางทุ่งกว้าง

เมฆขาวบางลอยละลิ่วพลิ้วเต็มฟ้า

เขียวขจีคลี่อาบห่มลมพัดมาดั่งมนตราพาสวรรค์บันดาลดิน

ลมล่องข้าวเบาบางกลางท้องทุ่ง

หอมจรุงกำจรเกสรสินธุ์

บรรพบุรุษรักษาไว้ได้ทำกิน

ปลูกดอกดินตราบจนสิ้นลมหายใจ

(ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง)

Wednesday, January 17, 2007

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง







การตื่น (Awakening)

หมายถึง *เป็นคำที่ใช้กับผู้รู้แจ้ง


โพธิจิต (Bodhicitta)

หมายถึง โดยตัวอักษรแปลว่า จิตแห่งความรู้แจ้งในระดับสัมพัทธ์

หมายถึงความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะนำสรรพสัตว์

ไปสู่การรู้แจ้ง และยังเป็นปนิธานขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติธรรมฝ่ายมหายานทั้งปวง

ในระดับความเป็นจริงหมายถึง ญาณทัศนะอันตัดตรงเข้าไปสู่ธรรมชาติความว่างอันเป็นที่สุด

แห่งจิตและปรากฎการณ์


โพธสัตว์ (Boshisattva)

หมายถึง สัตว์ที่ตัดสินใจจะนำสัตว์ทั้งมวลไปสู่ความรู้แจ้ง


พุทธะ(Buddha)

หมายถึง ผู้รู้แจ้ง ผู้ขับไล่ความมืดที่ครอบงำสองประการคือ1.อารมณ์ทางลบ2.ทัศนะคติทางลบ

และได้พัฒนาการรู้แจ้งสองประการคือ 1.รู้ในธรรมชาติของปรากฎการณ์2.รู้ความเป็นไป

หลากหลายแว่มุมของปรากฎการณ์


ธรรม(Dharma)

หมายถึง (มีหลากหลายความหมาย) ในบริบทปัจจุบันใช้แทนคำว่า พุทธธรรม

ซึ่งหมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่รู้แจ้ง และอีกด้านหนึ่งคือ

ธรรมแห่งการรู้แจ้งทางจิตวิญญาณที่เป็นผลจากการปฎิบัติทางจิตวิญาณอย่างเที่ยงแท้

Compassion [ H.H. The Fourteenth Dalai Lama ]








On behalf of all the people of Tibet, I would like to thank all those

who have taken an interest in the culture of Tibet and its traditions,

both spiritual and secular. I thank you for all you are doing to make

sure these traditions do not disappear.I am going to speak today

of peace of mind. The reason Tibetan culture is so important-at least,

it seems to me-is that our culture has great potential for promoting

peace of mind. During the extremely difficult period we have known

recently in Tibet, one of the factors which has helped us to remain

determined and not lose hope is this aspect of our own culture.
Our civilization is such that it has allowed us to preserve our serenity


and our inner peace in spite of all the trials and difficult situations we

have known. Recently I have had more and more contact with Western

scientists and we have been speaking about the frustration experienced

by human beings and of various possible remedies for that frustration.

The scientists questioned me at length about the mental health and

state of mind of Tibetan people, and they were very surprised to discover

that despite all the trauma the Tibetans have experienced, they manage

to preserve a stable mental state. This has been observed in particular

among those who spent long years in Chinese prisons and labor camps.
I would like to share with you an example. The associate abbot of


the Nanigyal monastery, who was recently exiled to India, was imprisoned

in I959, then sent to a Chinese labor camp-he was incarcerated a total

of eighteen years. After he reached his monastery in exile,

we had a chat together. He told me of his life and his experiences.

He mentioned that while he was in the hands of the Chinese,

he was in great danger for the following reason: he explained that

he almost lost the compassion he felt for his torturers.

I found this remarkable!
I often tease this man, telling him that despite all those difficult years


spent at the mercy of the Chinese, his face has hardly changed.

Although he is older than me, I believe he has even less white hair

than I do-you probably can't see mine today,

I shaved my head this morning! Above all, he has kept his wonderful smile.

All this is possible, or so it seems to me, because of Tibetan and Buddhist culture.
Perhaps my modest experience might serve as an example.


As a Buddhist monk, I have been trained in the practice,

the philosophy, and the teachings of Buddhism, but not at all

with the view of having to cope with the demands of modern life.

I have had to handle enormous responsibilities. I lost my freedom

at the age of sixteen, and my country when I was twenty-four.

For thirty-four years I have lived in exile, a refugee in a foreign country.

All this time, while we have been working for the exiled

Tibetan community, our country has known immeasurable destruction

and suffering. Despite all this tragedy I find that as far as

my mind, peace, and serenity are concerned, I am not doing too badly.
On occasion tourists come back from Tibet or from the refuge camps in


India with the false impression that Tibetans can't have suffered all that

much because they seem very happy and are always smiling.

This misconception is the only disadvantage of our mental attitude.
How can we develop inner peace and serenity in our mind?


I think human nature is basically good. It is true that we are also

made up of jealousy and hatred, but nevertheless

I believe our dominant characteristics are affection and kindness.

From the first day of our lives until our last breath,

the very foundation of our existence is affection and human warmth.

It is a well-known fact that children raised in an affectionate

family have greater success in developing their human qualities,

while those who grow up in the absence of the favorable

conditions of love and compassion end up with a far more negative

behavior in life and create tension wherever they go.

The absence or the presence of compassion and love in a family

therefore has a very obvious effect. According to doctors and scientists,

a calm mental state is a critical factor in a person's health. In addition,

from the first weeks of life, physical contact, whether with the mother

or someone else, is of prime importance for the awakening and development

of the child's brain







-oOo-





(นักแปลฝึกหัดๆ)



ความเมตตา

ท่านทะไลลามะองค์ที่๑๔


ข้าพเจ้าในนามตัวแทนของชาวธิเบตทุกคน

ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความสนใจกับวัฒณธรรมและ

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นดั่งจิตวิญญานของเรา

ขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ทำให้สิ่งหล่านี้ไม่จางหายไป


วันนี้ข้าพเจ้าขอพูดเรื่อง "ศานติในเรือนใจ"

เหตุผลที่วัฒนธรรม,การดำรงอยู่ของพวกเรานั้นสำคัญมาก

อย่างน้อยก็สำหรับฉันเอง-มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

และสนับสนุน ความสงบ ศานติ ในจิตใจ

ถึงแม้ว่าหลายปีที่พวกเราได้รับความเจ็บปวด

ที่เกิดขึ้นในธิเบต แต่ปัจจัยเหล่านั้นก็ช่วย

ทำให้พวกเรายังคงมีมุมมองแน่วแน่

และไม่สิ้นหวังต่อ วัฒณธรรมของเรา..


อารยธรรมของเราได้ให้เรารักษาความสงบ

และสันติภาพภายในจิตใจ แม้ว่าจะต้องเจอ

กับเหตุการณ์ที่ลำบาก

เมื่อเร็วๆนี้ ฉันเองได้พยายามเพิ่มการติดต่อ

กับนักวิทยาศาสตร์ชาวตะวันตกหลายๆท่าน

เราก็ได้คุยกันเกี่ยวกับเรื่อง ความผิดหวังผู้คน

และหนทางอันเป็นไปได้ที่จะเยียวยาความทุกข์ใจนั้น

ในที่สุด ก็มีนักวิทยาศาสตร์ถามฉัน

เรื่องสุขภาพใจและสภาพจิตใจของชาวธิเบต..

พวกเราได้ค้นพบว่า บาดแผลทั้งหมดที่ชาวธิเบต

ได้รับนั้นคือ ประสบการณ์ การฝึกฝน

และคงสภาพจิตใจที่มั่นคงไว้ได้

โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการทารุนในคุกของชาวจีน


ฉันอยากจะแบ่งปันตัวอย่างให้กับคุณ

เกี่ยวเนื่องกับเจ้าอาวาสของวัดNanigyal

ซึ่งเขาได้ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ในอินเดีย

เขาถูกขังคุกในปี 1959 และถูกส่งไปอยู่ที่

เรือนจำใช้แรงงานของชาวจีน

เขาได้ถูกกักขังเป็นเวลา18ปี

หลังจากเขาถูกเนรเทศมาอยู่ที่วัดในอินเดีย

เราได้พูดคุยกัน เขาได้เล่าเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมา

เขาได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตกอยู่ในมือของชาวจีน

ว่าเกือบเขาจะหมดความเมตตา

เนื่องจากความเจ็บปวดที่แสนสาหัส


ฉันมักจะหยอกเขาเล่น

และบอกกับเขาว่า ไม่ว่าอย่างก็ตาม

หลายปีที่ยากที่จะใช้ความเมตตากับชาวจีน

หน้าตาของเขาก็ดูจะไม่สูงวัยขึ้น

แม้ว่าเขาจะแก่กว่าฉัน

เขามีผมขาวน้อยกว่าที่ฉันมี

บางทีคุณอาจไม่เห็นของฉันในวันนี้

ก็ฉันเพิ่งโกนไปตอนเช้านี่เอง!!

และวิธีนี้ไม่เสียหลาย

เพราะทำให้เขายิ้มได้อย่างน่าอัศจรรย์

มันคือวิธีของชาวธิเบตและวิถีแห่งชาวพุทธ


บางทีประสบการ์เล็กๆของฉัน

อาจจะทำให้เป็นแบบอย่างได้

การเป็นพระ ก็ทำให้ได้ฝึกฝน

เรียนรู้ หลักปรัชญาและหลักธรรม

ของพระพุทธเจ้า แต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด

เรายังต้องมองความเป็นไปของยุคสมัยใหม่ด้วย

ฉันจำเป็นต้องจัดการกับสิ่งซึ่งไร้ศีลธรรม


ฉันเกิดความสูญเสียตั้งแต่อายุ๑๖

๒๔ ปี ๒๔ปีมาแล้วที่ต้องลี้ภัยออกจากประเทศของตน

ไปอยู่ต่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมา

ขณะที่ฉันทำงานโดยตั้งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่น

ประเทศของเราได้ขึ้นชื่อว่าอยู่ในภาวะของการถูก

ทำลายและความเจ็บปวด อย่างไรก็ดี

เหตุการณ์เลวร้ายนั้นทำให้ จิตใจที่สงบของฉัน

เป็นกังวล แต่มันก็ไม่แย่นัก..


นักท่องเที่ยวที่กลับมาจากธิเบต

หรือจากค่ายลี้ภัยในอินเดีย

ได้รับความเข้าใจกลับมาอย่างผิดๆ

คือ ชาวธิเบตไม่สามารถทุกข์ใจได้มาก

เพราะ ดูเหมือนพวกเขาจะมีความสุข

และยิ้มตลอดเวลา


ทำอย่างไรที่เราจะสามารถพัฒนาความสงบ

และแจ่มใสภายในจิตใจได้?

ฉันคิดว่าพื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์นั้นดี

มันเป็นความจริงที่พวกเราสร้างความอิจฉา

ความโกรธ ด้วยตัวเราเองแต่ว่าอย่างไรก็ตาม

พลังของลักษณะพิเศษที่เหนือกว่า

จะทำให้เกิดความรักและความเมตตา

ตั้งแต่วันแรกที่พวกเราลืมตา

จนกระทั่งหมดลมหายใจ

รากฐานของการดำรงอยู่นั้นคือ

ความรักและความอบอุ่นของมนุษย์

ความจริงที่เราพบก็คือ

เมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างอบอุ่นจากครอบครัว

จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาของเด็ก

ขณะที่เด็ก ที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างบกพร่องเรื่องความรัก

และความเมตตา สุดท้ายที่ได้รับคือ

การมีพฤติกรรมในแง่ลบ ,เกิดปัญหาในชีวิต

และสร้างความตึงเรียดไปในทุกๆที่

การขาดหรือการมีเมตตาและความรัก

เป็นตัวแปรที่สำคัญ

ตามที่หมอและนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้กล่าวไว้

สภาพความสงบในจิตใจคือ

ปัจจัยทางสุขภาพของแต่ละคน

แต่ยิ่งไปกว่านั้น

ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต

ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะกับแม่

หรือคนอื่นๆ เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด

ที่จะเป็นการปลุกและพัฒนาสมองของเด็ก


มีต่อภาค 2-------













Monday, January 15, 2007

Dimensions of Spirituality





His Holiness the Fourteenth Dalai Lama
© Tenzin Gyatso, the Fourteenth Dalai Lama 1995
This teaching was given at the National Tennis Centre,


Melbourne, Australia on May 4, 1992.
-oOo-
Two Levels of Spirituality




Brothers and Sisters, I would like to address the topic of spiritual values

by defining two levels of spirituality.

To begin, let me say that as human beings

our basic aim is to have a happy life; we all want to experience happiness.

It is natural for us to seek happiness.

This is our life's purpose. The reason is quite clear: when we lose hope,

the result is that we become depressed and perhaps

even suicidal. Therefore, our very existence is strongly rooted in hope. Although

there is no guarantee of what the future will bring, it is because we have hope

that we are able to continue living. Therefore, we can say that the purpose of

our life, our life's goal, is happiness.

Human beings are not produced by machines.

We are more than just matter; we have feeling and experience.

For that reason, material comfort alone is not enough.

We need something deeper, what I usually refer to as human affection, or compassion. With human affection, or compassion, all the material

advantages that we have at our disposal can be very constructive and can produce

good results. Without human affection, however, material advantages alone will

not satisfy us, nor will they produce in us any measure of mental peace or happiness.

In fact, material advantages without human affection may even create additional problems. Therefore, human affection, or compassion, is the key to human happiness.

---------------------------------------------
เพิ่งเริ่มจะหัดแปลๆ
(ขออภัยด้วยหากผิด/ไม่สละสลวย)

มิติแห่งจิตวิญญาน
โดยทะไลลามะองค์ที่๑๔
ณ สนามกีฟาแห่งชาติ เมล์เบริร์น ออสเตเลีย
วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๕

พี่น้องที่รักทั้งหลาย วันนี้ข้าพเจ้าอยากจะพูดในเรื่องของความสำคัญของ
จิตใจของเรา ในสองแง่มุม
เริ่มแรก จากพวกเราหลายซึ่งเป็นมนุษย์ด้วยกันล้วนแต่มีพื้นฐาน
และตั้งใจไว้ว่าจะมีชีวิตที่เป็นสุข พวกเราต้องการ
ที่จะได้รับ และสัมผัสกับมัน และ มันก็เป็นธรรมชาติ
สำหรับมุนษย์ที่แสวงหาความสุข
เหตุผลค่อนข้างจะชัดเจน เมื่อเราต้องเผชิญกับอุปสรรค
ผิดหวัง และ เป็นผลทำให้เราเกิดความสิ้นหวังและ
อาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเราเอง
เพราะอย่างนั้นเองที่เราหวังที่จะมีชีวิต
ที่มั่นคง แม้ว่าอนาคตข้างหน้าจะไม่ได้รับประกัน
ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เนื่องจากพวกเราหวังว่าเราจะ
สามารถดำรงชีวิตได้ต่อไป
ทั้งหมดที่เกริ่นมานี้ เราสามารถบอกได้ว่าความสุขนั้น
เป็นสิ่งที่พวกเราต้องการ

มนุษย์ทั้งหลาย ไม่ได้เกิดมาจากเครื่องจักร
แต่ว่าเราเป็นมากกว่านั้น
เรามีอารมณ์ความรู้สึก เรามีประสบการณ์
ด้วยเหตุนี้ วัตถุสิ่งของ สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย
ไม่เป็นสิ่งเดียวที่มนุษย์ต้องการ
มนุษย์เราต้องการอะไรบางอย่างที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า
อะไรที่บ่งบอกถึงความเป็นคน ความมีเมตตา
ด้วยการมีสิ่งทั้งสองอย่างนี้บวกกับสิ่ง
ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งหลาย
สามารถที่จะพัฒนาเป็นโครงสร้างที่สร้างสรรค์
และก่อให้เกิดสิ่งดีงาม
ถ้าปราศจากความรู้สึกอันเป็นมนุษย์
แม้จะมีวัตถุมากมายก็ไม่สามารถชดเชย
สิ่งที่เรียกว่า ความสุข ความสงบ ได้
โดยแท้จริงแล้ว สิ่งของภายนอก เหล่านี้
อาจเป็นตัวเพิ่มปัญหา ให้แก่มนุษย์
และความเป็นมนุษย์ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
และความมีเมตตา จะเป็นกุญแจสำคัญ
ที่นำพวกเราไปสู่ การมี"ความสุข"

*********





THE WAY OF THE LOTUS

"Wisdom brings to the individual his happiness
and bliss and enables him realise the truth
and reality of the universe and attain perfection.
But he has a debt to society.
He must need discharge his duties by the world.
This is the function of Karuna.
The tree bears fruit for the enjoyment of birds,
beasts and men. The perfected being bears his wisdom
for the benefit of his society. He lives in the world
but is not hampered by it. He is in the world but
not of the world (loke thito lokena anupalitto). The man
who seeks to perfect himself and goes out
into the world to make others seek perfection
for themselves is the bodhisattva. His function is
to seek to elevate and to civilise human life
at all times and everywhere. The bodhisattva
is the true disciple of the Buddha, the preceptor
and the exemplar of the life of the lotus.
Karuna makes us look at the world with different eyes.
The vision of truth gives us a passion for
service to mankind. We begin to recognise that
the problems of the individual are causally connected
with the problems of the world. We begin to
dedicate ourselves to the noblest of all consecrations,
namely, service to our fellow men. Our life is a
constant pilgrimage to perfection and our sorrows are
inextricably bound up with those of our
fellows in society."
[Professor W.S. Karunaratne PhD.]

" ดอกบัวรู้ชูช่อช่วงเหนือห้วงน้ำ

เปรียบรสธรรมนำพลพ้นขลาดเชลา

บัวพ้นตมคนพ้นต่ำมีธรรมเนา

บัวสี่เหล่าบอกกล่าวถึงชาติคน

บัวดอกหนึ่งบอกถึงคนทรามสิ้น

ทุกชีวินทำดีไม่มีผล

เดรัจฉานจับกินทุกตัวตน

เพราะความที่จนปัญญาผุดความดี

บัวดอกสองสนองถึงความดีบ้าง

ผุดขึ้นมาอยู่ห่างตมอย่างหลีกหนี

แม้ยังคงอยู่ในน้ำทุกชีวี

แต่ยังมีความดีไว้คู่ตัว

บัวดอกสามอิสระพ้นน้ำแล้ว

ก็ไม่แคล้วความดีไร้ความชั่ว

แต่อีกด้านยังมีชั่วให้หมองมัว

ดังนั้นหัวจึงไม่บานได้ดั่งใจ

บัวดอกสี่มีค่ามากวิเศษ

ทั้งกิเลสตัณหาทรามทั้งหลายไซร้

ล้วนหมดสิ้นสลายหดหายไป

บัวดอกนี้คือหัวใจใฝ่ธรรมจริง"


Sunday, January 14, 2007

โลกร้อน ขยะล้น

เนื่องจากได้อ่านหนังสือ การพัฒนาที่ยั่งยืน


ของท่านป.ปยุตโต ก็ทำให้คิดถึงสภาพการ


บริโภคอย่างบั่นทอนของคนในยุคปัจจุบัน


ปัญหาที่มาแรงและเป็นรากเง้าของปัญหาทั้งหมด


นั้นคือสำนึกของมนุษย์อย่างเราๆนั่นเอง


ปัญหาที่จะมาคุยวันนี้ คือเรื่อง





-ก๊าซเรือนกระจก( The Greenhouse Effect )



และ



-ขยะล้น






เรื่องแรก ปรากฎการเรือนกระจกเกิดจากก๊าซดังต่อไปนี้




1.Water vapour (H2O)
2.Carbon dioxide (CO2)
3.Methane (CH4)
4.Nitrous oxide (N2O)
5.Tropospheric ozone (O3)





ก๊าซมีเทน กับ ไนตรัสออกไซด์ มาจาก(เสปรย์ฉีด/อุปกรณ์ทำความเย็น


ในโรงงานอุตสาหกรรม


แต่ก๊าซตัวฉกาดและมีผลกระทบที่สุดคือ พี่คาร์บอนได(co2)


นับตั้งแต่มีโรงงานอุตสาหกรรมผุดขึ้นมาอย่างยั๊บยั่งไม่ได้


พี่คาร์บอนได ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ดั่งภาพ


การเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนและไม่สามารถคาดคะเนได้



อาจจะทำให้เป็นการ "พัง" ระบนิเวศของธรรมชาติได้



ดั่งเช่นที่เราเห็นในทุกวันนี้คือ-ภาวะโลกร้อน



-ภัยธรรมชาติ



-ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น



-การทำลายโอโซน



(เนื่องจาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาก)ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง





เรื่องที่สอง ขยะล้น
















เห็นพลาสติกแล้วคิดถึง ใบตอง/ใบบัว จัง




ทั้ง หอม และย่อยง่าย สีก็สวย

ขอเอาเรื่องน่าอายของประเทศอเมริกามาเล่า



(จากหนังสือของท่านปยุตโต)เมื่อปีพศ.2530(1987)(ยังไม่ทันเกิด)



เรือขนขยะลำหนึ่งชื่อ Mobro ออกจากเกาะ long island จากนิวยอร์ก



วิ่งเที่ยวหาที่ทิ้งขยะประมาณเกือบ 10000 กิโลเมตร กว่าจะหาที่ทิ้งได้



เป็นครั้งแรกที่อเมริกาเริ่มตื่นตัวเรื่องขยะบัดนี้ ขยะร้ายแรงถึงขนาดนี้แล้ว



และก็ไม่สิ้นสุดแค่นั้น ต่อมาในปี2531(1988เกิดพอดี)เรืออีกลำนึงชื่อ Pelicano



บรรทุกขี้เถ้ามีพิษจากเมือง ฟิลาเดลเฟีย(philadelphia)ในประเทศอเมริกา



ไปหาที่ทิ้งขยะน้ำหนักรวม 13 ล้านกิโลกรัมในประเทศต่างๆแต่ไม่มีใครรับ



หาอยู่2ปีจึงกลับมาทิ้งประเทศของตัว



เวลานี้ปัญหาขยะรุนแรงมากอเริกาจึงไปทำสัญญากับหมู่เกาะมาร์แชลล์(Mashall)



ในมหาสมุทรแปซิฟิค เพื่อให้เป็นที่ทิ้งขยะหมู่เกาะแห่งนี้ยากจนก็รับเงิน



แถมองค์กรณณ์กรีนพีช(green peace)ยังเปิดเผยอีกว่า



อเมริกายังได้ไปทำสัญญาตกลงกับจีนเพื่อให้จีนเอาขยะไปทิ้ง



จีนก็ตกลงแต่ะจีนเอาไปทิ้งที่ธิเบตซึ่งอยู่ใต้อนานิคมของจีน



พอกรีนพีชเปิดเผยเรื่องนี้ออกมาอเมริกาก็ถอยไม่กล้าเอาไปทิ้ง



(เห็นใจทิเบตจัง..ถูกจีนซ้ำเติมหลายครั้งหลายหน)



และทั้งหมดนี้ก็เป็นผลมาจากการบริโภคมากเกินไปทั้งสิ้น



มากเกินจนต้องผลิต ผลิต ผลิต ...



ชักเหนื่อยแล้วซิกับคำว่า บริโภคเกิน.



ถ้าทุกคน turning to anothers.



เอาใจเขามาใส่ใจเรา อยู่ด้วยความรัก และเมตตากัน



โลกเราก็คงจะดีกว่านี้ แน่ๆ



สร้างบล๊อคกลิ่นฟาง [started my Bolg]

บล๊อคนี้สร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก
สิ่งที่ผ่าน พบเห็น อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง
ของตัวข้าพเจ้าเอง และเพื่อ
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ กับคนอื่นๆ

ที่มาของชื่อบล๊อคก็บอกอยู่แล้วว่าข้าพเจ้า
จะต้องชอบดมฟางหอมๆแน่ๆ
อีกนัยหนึ่งคือตัวของข้าพเจ้าเองชอบอยู่
กับธรรมชาติ ดั่งคำกลอนที่ยื้มเค้ามา..

"ในทุ่งทิพย์ขลิบทุ่งทองของรวงข้าว
คันดินยาวเคยเล่นเร้นในทุ่ง
เห็นชีวิตนิดน้อยค่อยแต่งปรุง
ปลาหอยกุ้งน้ำใสไหลเจิ่งนอง
ทั้งไล่จับตั๊กแตนแสนสนุก
ดินเข้าคลุกเลอะเทอะเปรอะเสื้อหมอง
หากเจอปลิงเราเผ่นไม่หันมอง
พวกน้องน้องหัวเราะเยาะเยาะเยย"
(กวิสรา อัคษราภัค )